Pat Thitipattakul
Corporate Innovation Manager
แน่นอนว่าหลายคนที่มีความฝันอยากทำสตาร์ทอัพ สร้างโซลูชั่นใหม่ เติบโตก้าวเป็นผู้นำในตลาดเป้าหมาย มักจะต้องการเงินลงทุนในการขยายธุรกิจ ซึ่งช่องทางในการระดมทุนที่นิยมที่สุดในหมู่สตาร์ทอัพก็คือกองทุน VC (Venture Capital) นั่นเอง ซึ่ง VC เป็นกองทุนที่ให้เงินลงทุนและแลกกับหุ้นจำนวนหนึ่ง ซึ่งต่างจากการกู้เงิน ที่ธุรกิจต้องมีภาระในการชำระดอกเบี้ย ไม่สามารถทุ่มเงินไปกับการสร้างการเติบโตได้อย่างเต็มที่
แต่ส่วนมาก เนื่องด้วยข้อมูลที่จำกัด ทำให้สตาร์ทอัพหน้าใหม่ยังขาดความรู้ความเข้าใจว่า VC ทำงานอย่างไร ควรเตรียมตัวอย่างไรถึงจะเหมาะสม เพื่อให้ได้รับพิจารณาการลงทุน
และเพื่อช่วยสนับสนุนสตาร์ทอัพ ทางเราจึงได้จัด session พิเศษในโครงการ StormBreaker โดยเชิญนักลงทุน VC คุณมะเหมี่ยว, คุณทู และตัวแพทเอง ที่ดูในส่วนของ investment ของกองทุน 500 TukTuks ด้วย ซึ่งเรียกว่าเป็นกองทุนที่ลงทุนในสตาร์ทอัพ early stage มากที่สุดในประเทศไทย ปัจจุบัน 500 TukTuks ลงทุนในสตาร์ทอัพไปแล้วมากกว่า 60 บริษัท ซึ่งจากประสบการณ์การลงทุนของเรา จะช่วยตอบข้อสงสัยทั้งหมดนี้ได้อย่างแน่นอน
นี่เป็นจุดหนึ่งที่สตาร์ทอัพไม่ค่อยคำนึงถึงเวลาพูดคุยกับนักลงทุน VC สตาร์ทอัพส่วนมาก มักจะมีตัวเลขจำนวนเงินในใจอยู่แล้ว และพยายามชักชวนให้ VC ลงให้ได้ แต่ในความเป็นจริงแล้ว หากสตาร์ทอัพเข้าใจว่า VC ต้องการอะไร แล้ววิเคราะห์ดูว่าสตาร์ทอัพของเรามีปัจจัยอะไรที่สามารถตอบโจทย์นั้นได้ แล้ว pitch เน้นไปในเรื่องนี้ จะช่วยให้ VC ตัดสินใจ และทำงานได้ง่ายขึ้นมาก หลักการนี้เหมือนกันกับหลัก B2B Sales ที่ได้กล่าวไปแล้วในบทความก่อนว่าต้องทำความเข้าใจลูกค้า (บทเรียน B2B Sales จากคุณโบ้ท ผู้ก่อตั้งสตาร์ทอัพ Builk)
“เป้าหมายของ VC คือ return หรือผลตอบแทนที่คาดว่าจะได้รับจากเงินลงทุนในแต่ละ Startup ขั้นต่ำ 10 เท่า เพราะมีความเสี่ยงสูง” ซึ่งต้องเข้าใจก่อนว่า เงินที่ VC ถือนี้ ได้มาจาก LP (Limited Partner) บุคคล หรือ หน่วยงานที่เป็นผู้ให้เงินลงทุนแก่ VC โดยหน้าที่ของ VC เองก็ต้องสร้างผลตอบแทนให้กับนักลงทุนกลุ่มนี้ ภายในระยะเวลา 7-10 ปี และต้องสร้างความเชื่อมั่นว่า การลงทุนในสตาร์ทอัพเป็นทางเลือกที่น่าสนใจ ถึงแม้ว่าจะมีความเสี่ยงสูงมาก แต่ก็มีโอกาสได้ return สูงมากเช่นกัน
ดังนั้น VC คาดหวังว่า startup ทุกตัวที่ลงทุน จะสามารถโตขึ้นอย่างต่ำ 10 เท่าและสามารถ exit ได้
โดยผลตอบแทนของ VC นั้น มาจากการที่สตาร์ทอัพที่ได้ลงทุนไป สามารถระดมทุนในรอบถัดไปในมูลค่า (Valuation) ที่สูงขึ้นได้ ทำให้ VC ได้ markup ในเงินลงทุนที่ถืออยู่ หรือ มีโอกาสที่จะ exit ขายหุ้นให้นักลงทุนรอบถัดไป หรือ บริษัทอื่นที่จะเข้ามาซื้อกิจการ M&A ไปในอนาคต
กองทุนตุ๊กตุ๊ก ลงทุนในบริษัท A จำนวน 10 บาท ตกลงกับผู้ก่อตั้งว่ามูลค่าบริษัท A คือ 100 บาท
>> กองทุนตุ๊กตุ๊ก ถือหุ้น 10% (10/100)
3 ปีต่อมา บริษัท A ขยายใหญ่ขึ้น มีฐานลูกค้าหลายแสนราย บริษัท A จึงอยากระดมทุนรอบถัดไป ณ จุดนี้ นักลงทุน VC รอบต่อไปคือ “กองทุนสตอร์ม” สนใจลงทุน โดยตีมูลค่าบริษัท A ที่ 500 บาท
>> กองทุนตุ๊กตุ๊ก ยังคงถือหุ้น 10% อยู่ในบริษัท A จากเดิมที่มีมูลค่า 10 บาท ได้กลายเป็น 50 บาท (10% * 500) นั่นแสดงว่ากองทุนตุ๊กตุ๊กจะได้ผลตอบแทนมากถึง 5 เท่า
ซึ่งถ้ากองทุนตุ๊กตุ๊ก ตัดสินใจ exit คือขายหุ้นที่ถืออยู่ 10% นี้ให้ กองทุนสตอร์ม กองทุนตุ๊กตุ๊กก็จะได้ รีเทิร์นเป็นเงิน 50 บาทกลับมาเลย (จากที่ลงทุนไปเพียง 10 บาท) หรือกองทุนตุ๊กตุ๊ก อาจจะไม่ขาย แล้วถือหุ้นต่อไปก็ได้ แล้วให้บริษัท A ออกหุ้นใหม่ให้กองทุนสตอร์มแทน ถ้าเชื่อว่ามูลค่าบริษัท A จะสามารถโตได้มากกว่านี้อีกหลายเท่าในอนาคต โดยกองทุนตุ๊กตุ๊ก จะรอขายหุ้นตอนบริษัท A โต 10x-30x แทน
เมื่อตั้งต้นจากแนวคิดนี้ สตาร์ทอัพต้องวิเคราะห์ธุรกิจตัวเองให้ดีว่า
เราสามารถเป็นธุรกิจที่โต 10 เท่า ได้หรือเปล่า ขนาดตลาดของเราใหญ่พอที่จะสร้างมูลค่าเพิ่มเป็นสิบเท่าได้หรือไม่
โดยให้มองจากความเป็นจริง พยายามอย่า bias และให้ลองวิเคราะห์ดูว่า ในอนาคต จะมีโอกาสระดมทุนรอบต่อไปได้หรือไม่ และคิดว่าใครจะมาลงทุนต่อ กองทุนไหนที่จะสนใจลงทุนต่อใน stage ถัดไปของสตาร์ทอัพเรา และมีโอกาสที่บริษัทใหญ่ ๆ จะเข้ามาขอซื้อกิจการเราหรือไม่ หรือมีโอกาส IPO ไหม มีสตาร์ทอัพอื่นที่คล้ายกันในต่างประเทศที่สามารถระดมทุนรอบใหญ่ ๆ ได้สำเร็จ หรือถูก aqcuire ไปไหม
ถ้ามีข้อมูลเหล่านี้มาให้ VC จะช่วยได้มาก สตาร์ทอัพต้องทำให้ VC เชื่อให้ได้ว่า ธุรกิจนี้จะไปได้อีกไกล สามารถเติบโตได้เป็น 10 เท่า
แล้วในอนาคตต้องมีคนอยากลงทุนต่อแน่นอน ต้องช่วยคิด exit strategy มาให้ VC ด้วย ว่าจะมีโอกาสได้ผลตอบแทนอย่างไรในอนาคต
เรียกได้ว่า ต้องคิดเสมอว่า เราจะช่วยให้ VC buy low, sell high ได้อย่างไร
ทั้งนี้ทั้งนั้น ไม่ใช่ธุรกิจทุกประเภทที่เหมาะสมกับการระดมทุนจาก VC
จากประสบการณ์ เราเคยเห็นว่าบางธุรกิจนั้นดีมากและน่าสนใจมาก ทั้ง product ก็ดีมาก แต่อาจไม่สามารถระดมทุนจาก VC ได้ นั่นไม่ได้หมายความว่าธุรกิจนั้นไม่ดี เพียงแค่ VC มองว่าอาจจะยังไม่สามารถสร้างผลตอบแทนให้ VC ได้ หรืออาจยังไม่เหมาะกับการระดมทุนจาก VC เท่านั้นเอง ซึ่งธุรกิจนี้ อาจหาวิธีอื่น เช่นเพิ่มรายได้มาหมุนเวียน หรือค่อย ๆ เติบโตแบบ SME ก็อาจจะเหมาะสมกับธุรกิจนั้นมากกว่า
ชื่อเหล่านี้ เป็นชื่อเรียกของรอบการลงทุน ไม่มีหลักการตายตัวว่าจำนวนเงินเท่าไร เข้าข่ายเป็นรอบไหน ให้มองเป็น timeline มากกว่า
เริ่มนับรอบแรกจากการ raise ครั้งแรกจาก institutional investor (angel ถือเป็นบุคคลจึงเป็น pre-seed) โดยทั่วไปเรียงกันแบบนี้
วิธีที่ได้ผลที่สุด คือ Referral มีคนแนะนำให้รู้จัก ในวงการสตาร์ทอัพไทย หลายคนรู้จักกันดีอยู่แล้ว ไม่ใช่เรื่องยากเลยที่จะขอให้คนในวงการช่วย connect ให้
สำหรับ VC แล้ว ใน 1 วัน ได้รับอีเมล และ Pitch deck จำนวนมาก สตาร์ทอัพจึงอย่าแปลกใจหากไม่ได้รับการตอบกลับ ในทางกลับกัน ถ้ามีคนในวงการแนะนำสตาร์ทอัพมาให้ ก็จะรู้สึกสนใจมากกว่า เพราะเชื่อว่าคนที่แนะนำมาก็ช่วย screen มาให้ระดับหนึ่งแล้ว
แต่หากเพิ่งเริ่มต้นแล้วไม่รู้จักใครเลย วิธีที่ง่ายที่สุด คือ ให้ไปเข้าร่วมงาน startup ที่มีจัดเรื่อย ๆ ตาม co-working space ต่าง ๆ จะมีโอกาสได้เจอคนในวงการ หรือ VC แน่นอน ส่วนมาก VC จะได้รับเชิญให้ไปเป็นกรรมการ หรือ mentor ตามงานแข่งขัน startup pitching อยู่แล้ว
ก่อนอื่นให้ทำการ research มาก่อนว่า VC นั้นลงทุนในสตาร์ทอัพแบบไหน ในจำนวนเงินประมาณเท่าไร ซึ่งข้อมูลนี้หาได้ไม่ยากเลย เพราะมีลงในข่าวอยู่แล้ว รวมถึงในเว็บไซต์ของ VC มักจะมีหน้า about และหน้า portfolio อยู่ ก็เข้าไปดูได้ว่า VC รายนั้นสนใจอะไร สตาร์ทอัพที่เคยได้รับเงินลงทุนมีลักษณะเป็นอย่างไร อยู่ใน industry ไหน stage ประมาณไหน
ข้อมูลนี้มีประโยชน์มาก เพราะถ้าสตาร์ทอัพที่คุณทำอยู่ ไม่ได้ตรงกับ investment thesis ของ VC นั้น โอกาสได้รับเงินลงทุนก็แทบไม่มี ก็ไม่มีประโยชน์ที่จะไปพยายามขอให้เขาลงทุน
เช่น VC กองนี้ลงแต่ Blockchain เท่านั้น เราทำแพลตฟอร์ม AgriTech ก็ไม่ตรงอยู่ดี รู้ตั้งแต่เนิ่น ๆ จะดีกว่า จะได้ไม่เสียเวลาทั้ง 2 ฝ่ายด้วย
ขั้นต่อไป หากพร้อมนัดเจอแล้ว ต้องเตรียมข้อมูลให้พร้อม โดย meeting มักใช้เวลาประมาณ 30 นาที ถึง 1 ชั่วโมง ต้องใช้เวลาให้คุ้มค่ามากที่สุด ถ้าถามอะไรแล้วตอบได้หมด จะช่วยได้มาก ทำให้ VC เชื่อว่า คุณมีความรอบรู้เกี่ยวกับธุรกิจและ industry จริง ๆ โดยข้อมูลที่ควรพูดถึง ได้แก่
หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมว่า เตรียมตัวทำ presentation deck อย่างไรดี ดูได้ที่บทความ เจาะลึกเทคนิคการทำ Pitch Deck ไฟล์พรีเซ้นท์นำเสนอผลงานสำหรับ Startup
ปกติเฉลี่ยระยะเวลาในการลงทุนตั้งแต่เริ่มต้นคุย ไปจนถึงปิดดีล ใช้เวลาแตกต่างกัน แล้วแต่ความพร้อมของ Startups และการ Negotiate มีตั้งแต่ 1 เดือน ไปจนถึง 2 ปี
และอย่าลืมว่า การระดมทุนจะยังไม่จบ หากเงินลงทุนยังไม่เข้าบัญชี ดังนั้นสตาร์ทอัพควรบริหารการเงินของบริษัทให้ดี และทุ่มเทพลังไปกับการหาคนเก่งมาร่วมทีม พัฒนา Product และสร้างการเติบโต
โดยทั่วไป VC คาดหวังว่าให้สตาร์ทอัพลองเสนอมาก่อน ว่าจะขายหุ้นที่ราคาเท่าไร แล้ว VC จะพิจารณาดูว่าเหมาะสมไหม เทียบกับ traction ที่มี สภาพตลาด และปัจจัยอื่น ๆ ดังนั้นสตาร์ทอัพควรมีตัวเลขในใจไว้เป็น range คร่าว ๆ จะดีกว่า เผื่อมีการต่อรอง
สำหรับการคิด Valuation ในระดับ Series A ขึ้นไปจะคล้ายกับการคำนวณ valuation ในทาง Finance ที่มีการใช้ model แบบต่าง ๆ เช่น DCF ซึ่งสามารถทำได้ เพราะธุรกิจดำเนินมาหลายปีแล้ว มีตัวเลขทางการเงินที่สามารถนำมาวิเคราะห์เชิงลึกได้ นอกจากนี้ยังสามารถนำมาเปรียบเทียบกับข้อมูล valuation ของบริษัทอื่นในอุตสาหกรรมเดียวกันได้
แต่สำหรับสตาร์ทอัพที่เพิ่งเริ่มต้นได้ไม่นานในระดับ early stage จะถูกประเมินด้วยปัจจัยดังต่อไปนี้
ผลกระทบของปัจจัยเหล่านี้ คือ หากมีสตาร์ทอัพที่คล้ายกัน ต่อให้ traction เท่ากัน ธุรกิจคล้ายกัน แต่ถ้าปัจจัยอันใดอันหนึ่งต่าง ก็สามารถทำให้ราคาต่างได้ เช่น ถ้า founder เคย exit ขายกิจการสำเร็จมาก่อนในอดีต ก็ได้ Valuation ดีกว่า ประสบการณ์ดูน่าเชื่อถือกว่า
นอกจากปัจจัยดังกล่าว VC ก็จะดูด้วยว่าการระดมทุนรอบล่าสุดมี valuation เท่าไร แต่หากไม่เคยระดมทุนมาก่อน ก็อาจดูจาก valuation ของบริษัทอื่นที่ใกล้เคียงกันเอามาเปรียบเทียบ
ในส่วนของการประเมินมูลค่าธุรกิจเบื้องต้น มีวิธีการคำนวณ 4 รูปแบบ ซึ่งจะเลือกใช้ตามที่เหมาะสมในแต่ละสถานการณ์ ดังนี้
1) พิจารณาแล้วว่า บริษัท A ต้องใช้เงินประมาณ 100k USD ในการทำ marketing ดึงดูดลูกค้าและการพัฒนา product ในระยะเวลา 18 เดือน
2) VC ต้องการถือหุ้น 10%
จาก 1) และ 2) นำไปคำนวณเทียบบัญญัติไตรยางค์ จะได้ว่า valuation คือ 1 M USD นั่นเอง (100k / 10%)
ซึ่งทั้ง คุณมะเหมี่ยว คุณทู และแพท ตัวผู้เขียนเอง อยากฝากทิ้งท้ายไว้ว่า สตาร์ทอัพ early stage ไม่ควรยึดติดกับ valuation มากเกินไป หรือจะคิดแค่ Valuation สูง ๆ เพียงอย่างเดียว สตาร์ทอัพควรเลือก VC ที่สามารถให้ความช่วยเหลือ ให้คำแนะนำในเรื่องต่าง ๆ ได้ ไม่ใช่ว่ารับเงินจากใครก็ได้ ที่สำคัญควรทุ่มเทพลังไปกับการสร้างการเติบโต
และควรระวังว่า อย่าสูญเสีย % หุ้นเยอะเกินไป (โดยทั่วไป ไม่เกิน 10-25% ในแต่ละรอบ) เพราะไม่งั้นสุดท้ายผู้ก่อตั้งอาจเหลือความเป็นเจ้าของบริษัทน้อยมาก ทำให้ไม่มีกำลังใจจะทำต่อ
แล้วควรขอจำนวนเงินเท่าที่จำเป็นกับเป้าหมายที่อยากไป เพราะถ้าธุรกิจไปได้ดีจริง ไม่ใช่เรื่องยากเลยที่จะดึงดูดความสนใจจาก VC ในรอบต่อ ๆ ไป
ติดตามข่าวสารความรู้ exclusive แบบนี้ได้ทางเฟสบุ๊คเพจ Disrupt Technology Venture และ 500TukTuks และพบกันที่งาน Education Disruption Conference 2020: Reimagine Thailand’s Education 2030, Virtual Conference ที่จะพาทุกคนมาเตรียมตัวให้พร้อมสำหรับการเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ของการศึกษาไทยที่กำลังจะเกิดขึ้น ผ่าน Content สุด exclusive จากผู้เชี่ยวชาญระดับโลกมากมาย พร้อมทั้งฟังประสบการณ์ จาก EdTech Startups และ Social Entrepreneurs ที่ประสบความสำเร็จทั้งในไทยและต่างประเทศ ลงทะเบียนได้แล้ววันนี้ ที่นี่