Pat Thitipattakul
Corporate Innovation Manager
ในงาน RISE Conference ที่ฮ่องกง วันที่ 8-11 กรกฎาคมที่ผ่านมา ได้มีการเปิดตัว Furhat Social Robot โดย Samer Al Moubayed ผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท Furhat Robotics พร้อมทำการสาธิตการทำงานของตัวหุ่นยนต์ให้ดูบนเวทีเป็นครั้งแรกในเอเชีย ซึ่งเรียกความสนใจจากผู้เข้าร่วมงานได้เป็นอย่างมาก
Samer ร่วมก่อตั้ง Furhat Robotics ที่เมืองสตอกโฮล์ม ประเทศสวีเดนในปี 2014 ด้วยแนวคิดที่ต้องการสร้างหุ่นยนต์ที่สามารถโต้ตอบกับมนุษย์ได้เสมือนกับมนุษย์จริง ให้ผู้ใช้รู้สึกเหมือนว่ากำลังพูดคุยอยู่กับเพื่อนที่คุ้นเคย เนื่องจากปัจจุบันเทคโนโลยี AI ก้าวหน้าไปมาก รวมถึงเครื่องมือสั่งการด้วยเสียง voice assistant ก็มีการใช้อย่างแพร่หลาย Samer มองว่าเครื่องมือเหล่านั้นช่วยอำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้ได้มาก แต่ไม่มี human touch หรือการสร้างปฏิสัมพันธ์แบบมนุษย์เลย ทำให้พลาดโอกาสในการสร้างความผูกพันธ์กับผู้ใช้ เพราะทุกการใช้งานเป็นเพียงการสั่งงานให้ system ทำงาน ไม่มีการ interact ที่สร้างประสบการณ์แปลกใหม่น่าจดจำให้กับผู้ใช้ ยกตัวอย่างเช่น การสั่งกาแฟกับพนักงานบาริสต้า ซึ่งถ้าหากพนักงานบริการดี ยิ้มแย้ม จำชื่อเราได้ เราก็จะรู้สึกดีกับแบรนด์นั้นไปโดยไม่รู้ตัว ต่างจากการสั่งกาแฟกับเครื่องอัตโนมัติ ซึ่งเราคาดหวังแค่ความสะดวก รวดเร็ว ถูกต้อง แต่ก็ไม่ได้รู้สึกประทับใจอะไรไปมากกว่านั้น
ในจุดนี้เองที่ Samer มองว่าเป็นโอกาสในการพัฒนาหุ่นยนต์แบบใหม่ที่สามารถแสดงความรู้สึก อารมณ์ โต้ตอบได้คล้ายมนุษย์ เป็นส่วนผสมระหว่าง social และ technology ซึ่งเมื่อพัฒนาเสร็จสมบูรณ์สามารถนำมาใช้งานได้หลากหลาย ยกระดับ interaction ระหว่างมนุษย์และหุ่นยนต์
ข้อแตกต่างที่ชัดเจนคือ นอกเหนือจากความฉลาดแบบ AI แล้ว หุ่นยนต์ Furhat สามารถโต้ตอบกับมนุษย์ในรูปแบบที่คล้ายกับมนุษย์ กล่าวคือ ไม่ใช่แค่การโต้ตอบตามคำสั่ง แต่สามารถพูดคุย หยอกล้อ เล่นมุกตลก เล่าเรื่อง แสดงสีหน้าอารมณ์แบบมีความรู้สึก พยักหน้า มองตา หรือหลบตาเมื่อรู้สึกประหม่า Furhat จะปรับเปลี่ยนการโต้ตอบไปตามสีหน้าและท่าทางของผู้ใช้จากการวิเคราะห์ข้อมูลจากกล้องที่ติดอยู่ด้านใน ทำให้ Furhat สามารถตรวจจับได้ว่าตอนไหนควรหยุดพูดแล้วรับฟัง หรือตอนไหนควรตอบกลับ เทคโนโลยีดังกล่าวทำให้ social robot สามารถโต้ตอบกับมนุษย์ในสถานการณ์ที่ซับซ้อนได้ต่างจากหุ่นยนต์ทั่วไป เช่น หากรู้ว่าผู้ใช้กำลังรู้สึกเศร้า หรือ หงุดหงิด ก็ควรต้องระวังคำพูด
โดยทั่วไปหุ่นยนต์จะถูกสร้างมาเพื่อให้ทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งโดยเฉพาะ เช่น หุ่นยนต์ส่งของ ทำหน้าที่เพียงส่งของ ไม่มีการพูดคุย แต่ในกรณีของ Furhat ทางทีมผู้ก่อตั้งไม่ได้จุดประสงค์ใดชัดเจนมาตั้งแต่เริ่มว่านำไปใช้ทำอะไร กลายเป็นว่าพัฒนามาเรื่อยก็พบว่าสามารถนำไปใช้ได้หลาย use case มาก เพราะพัฒนามาให้มีลักษณะคล้ายมนุษย์
Samer กล่าวว่าองค์กรสามารถนำ Furhat ไปใช้ทำอะไรก็ได้ที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสารกับผู้คน มีองค์กรชื่อดังที่เริ่มนำ Furhat ไปทดลองใช้แล้ว เช่น Disney, Honda, Deutsche Bahn และ Merck Group
ตัวอย่าง Use case ที่น่าสนใจ ได้แก่
มาถึงคำถามสำคัญที่เป็นประเด็นร้อนแรงในยุคนี้ที่หลายคนกลัวว่าจะตกงานเพราะหุ่นยนต์ ในประเด็นนี้ Samer ได้กล่าวไว้ว่า เขาไม่ได้สร้าง Furhat ขึ้นมาเพื่อทดแทนการทำงานของมนุษย์ แต่ตั้งใจว่าให้เป็น assistant ผู้ช่วยที่ชาญฉลาดที่สามารถช่วยเหลือมนุษย์ได้ในหลากหลายสถานการณ์ เป็นหุ่นยนต์ที่สร้างประสบการณ์รูปแบบใหม่ให้กับผู้ใช้ในแบบที่ AI chatbot หรือ smart speaker ทำไม่ได้ เพื่อที่ว่ามนุษย์จะได้มีเวลาว่างมากขึ้นและสามารถมาโฟกัสกับการทำงานที่ต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์ ที่ต้องใช้ความเป็นมนุษย์ ใช้ทักษะที่หุ่นยนต์ไม่สามารถทำได้ จึงสำคัญว่าเราควรพัฒนาทักษะใหม่ ๆ อยู่เสมอ และเน้นไปที่ทักษะที่หุ่นยนต์ทำไม่ได้ ดังตัวอย่าง เขาไม่ต้องการให้หุ่นยนต์สัมภาษณ์งานทดแทนพนักงาน HR แต่เขาต้องการให้หุ่นยนต์ช่วยลดงานส่วนนี้ของ HR เพื่อที่ HR จะได้มีเวลาไปใช้ในการวางแผนงาน HR เพื่อพัฒนาองค์กร จัดบุคลากรให้เหมาะสมกับหน่วยธุรกิจ สร้างวัฒนธรรมในองค์กร พูดคุยเก็บข้อมูลจากคนในองค์กร หรือ ทำกิจกรรมต้อนรับ onboard พนักงานใหม่
รับชมวิดิโอ demo ของ Social Robot จากงาน RISE Conference ได้ที่ https://vimeo.com/347251203