Neuy Priyaluk
Business Development Associate
เนื่องด้วยสถานการณ์ปัจจุบัน Covid-19 ได้เร่งให้หลาย ๆ คน หลาย ๆ ภาคส่วน ต้องปรับตัวเพื่อความอยู่รอด จาก Digital Disruption เป็น Continuous Disruption ไม่เพียงอุตสาหกรรมใดอุตสาหกรรมหนึ่งต้องเปลี่ยนแปลง แต่ทุกอุตสาหกรรมต้องปรับตัว และเปลี่ยนแปลงไปในเวลาเดียวกัน
และเมื่อการเปลี่ยนแปลงทุกอย่างถูกเร่งเครื่องและย่นย่อระยะเวลา จาก 2 ปี กลายเป็น 2 เดือน ในอีก 10 ปี 20 ปี หรือ 30 ปีข้างหน้านี้ อะไรจะเปลี่ยนแปลงไป ในทิศทางใดบ้าง
ในปี 2050 เรามองเห็นถึงการที่ประชาชนจะพักอาศัยกันแบบ Deurbanized หรือ ปรากฏการณ์คนหนีเมือง แต่หากกล่าวตามความเป็นจริงแล้วนั้น จะหมายถึง การที่โลกนี้กำลังจะกลายเป็นเมืองทั้งหมดแล้ว และแทบไม่มีที่ไหนที่มีความเป็นชนบทหลงเหลืออยู่เลย อย่างไรก็ตาม ประชาชนจะรักสิ่งแวดล้อมกันมากขึ้น และใช้ชีวิตแบบ Mobility Lifestyle ด้วยการเดินทางไปในที่ต่าง ๆ ด้วยระบบไฟฟ้า (Electrification)
พลังงานจากถ่านหิน และน้ำมันเชื้อเพลิงต่าง ๆ จะถูกใช้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น หลงเหลือ Carbon Footprint ในปริมาณที่น้อยลง ในขณะเดียวกันอัตราการใช้พลังงานของโลก โดยเฉพาะในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นี้ จะมีการเปลี่ยนแปลงอัตราส่วน ไปใช้พลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy) โดยส่วนหลักจากพลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม หลังงานนิวเคลียร์ และ Piezoelectricity มากถึง 71% ของการใช้พลังงานทั้งหมดในภูมิภาค สิ่งต่างๆ เหล่านี้ จะส่งผลกระทบไปกับที่อยู่อาศัยของผู้คน การเดินทางคมนาคม และการทำธุรกิจต่าง ๆ ซึ่งส่งผลให้ การอยู่อาศัย การทำงาน และการใช้ชีวิตเวลาว่างของผู้คนเปลี่ยนไป
ประสิทธิภาพของพลังงานทดแทนถูกคาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้นถึง 6 เท่า ในปี 2050 เทียบกับปัจจุบัน ระบบไฟฟ้า (Electrification) ต่าง ๆ จะสำเร็จมากขึ้นจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีของแบตเตอรี่ ที่ซึ่งผลงานวิจัยหลายแห่งกล่าวว่า จะมี Battery Capacity Per Weight สูงขึ้นถึง 6 เท่า เทียบกับปัจจุบัน เช่นเดียวกับการผสมผสานแนวคิดการพึ่งพาตนเอง (Self-Sustaining) และการใช้ระบบไฟฟ้าแบบศูนย์รวม (Centralized Energy) จะส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตอยู่ของคน เนื่องจากมีตัวเลือกการใช้พลังงานหมุนเวียน ทั้งในที่ตึกรามบ้านช่องสำหรับการอยู่อาศัย (Residential) และ สำหรับเชิงพาณิชย์ (Commercial) นับตั้งแต่การผลิตไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนแบบกระจาย (Decentralized Renewable energy) และอุปทานพลังงาน (Supplying Energy) โดยตรงจากบริเวณโดยรอบ คาดการณ์ได้ว่า ด้วยความช่วยเหลือจากนโยบายภาครัฐ จะสามารถทำให้ตึกที่อยู่อาศัยและอาคารพาณิชย์ต่าง ๆ จะมีหลังคา Solar Cell ที่พร้อมใช้งานมากถึง 45%
มากไปกว่านั้น ตึกและอาคารต่าง ๆ จะถูกออกแบบมา แบบ More Smarter and More Energy-Efficient โดยจะใช้พลังงานอย่างเต็มประสิทธิภาพ ผ่านหลอดไฟอัจฉริยะ การควบคุมอุณภูมิ และการจัดการพื้นที่ใช้สอยอย่างเต็มความสามารถ ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะไปถึงปลายทางไม่ได้เลย หากขาดนวัตกรรมเทคโนโลยีต่าง ๆ เป็นแรงขับเคลื่อน ดังเช่น แบตเตอรี่ที่ประสิทธิภาพดียิ่งขึ้นใช้ได้ยาวนานขึ้น และระบบ IoT ที่รวดเร็วยิ่งขึ้น
ในส่วนของการขนส่งและการเดินทาง (Logistic and Transportation) นั้น จะเป็นไปอย่างราบรื่นมากยิ่งขึ้นจากความช่วยเหลือของเทคโนโลยี Blockchain
การเดินทางทางอากาศด้วยเครื่องบินจะลดลง แต่จะใช้โดรน (Drone) ในการขนส่งสินค้าต่าง ๆ มากยิ่งขึ้น
ในส่วนของการเดินทางทางบก รถไฟความเร็วสูงจะถูกวางโครงสร้างเป็น hyperloop และเป็นใยแมงมุมครอบคลุมไปในเกือบทุกพื้นที่ เนื่องจากเมื่อ De-urbanization มีมากขึ้น เมืองต่าง ๆ ก็มีความจำเป็นที่จะต้องมีระบบคมนาคมขนส่งที่มีมาตรฐานและครอบคลุมพื้นที่ต่าง ๆ ทั้งบริเวณรอบหัวเมือง และต่างจังหวัดทั่วประเทศ
ในส่วนของเส้นทางบกบนถนน จะเกิดความก้าวหน้าที่สามารถเชื่อมต่อการใชีชีวิต ธุรกิจและการเดินทางผ่านทางรถไฟฟ้า (Electronic Vehicle: EV) ในรูปแบบ Autonomous Mobility as a Service (Autono-MaaS) อีกด้วย
การเดินทางในรูปแบบใหม่นี้จะนำพาทุกคนไปสู่ 2 คอนเซ็ปท์หลัก คือ CASE และ MaaS
เริ่มด้วยคอนเซปแรก CASE ที่ย่อมากจาก “Connected” cars, “Autonomous/ Automated” driving, “Shared”, and “Electric” ซึ่งหมายถึง การเชื่อมโยง ระบบอัตโนมัติ การใช้ร่วมกัน และระบบพลังงานไฟฟ้า นำไปสู่คอนเซปที่สองคือ MaaS (Mobility as a Service) ที่เน้นเรื่องรถไฟฟ้าและระบบไร้คนขับ
การชาร์ตไฟฟ้าด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ (Solar Cells) จะช่วยเร่งให้เกิดการนำมาใช้ของ EV ได้เร็วยิ่งขึ้น จากการเก็บสถิติระหว่างปี 2019 ถึง 2020 ที่ผ่านมาพบว่าโลกของเราจะมีการใช้รถพลังงานไฟฟ้า (EV) สูงขึ้นถึง 43% มากไปกว่านั้นจากผลงานวิจัยพบว่าการใช้ self-driving car จะมี CAGR เพิ่มสูงถึง 63.1% ในระยะเวลาเพียง 10 ปีจาก 2021 ถึง 2030
เมื่อ De-urbanization ขยายตัว รวมทั้งมีการใช้ self-driving cars มากขึ้น สังคมและเศรษฐกิจของเราจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอีกครั้ง การใช้ชีวิตของคนในสังคมจะเปลี่ยนแปลงไปเป็นสิ่งที่เรียกว่า “In-Car Economy” ที่เป็นรูปแบบใหม่ของการปฏิวัติการเดินทาง การทำงาน และการใช้ชีวิต ผู้คนจะสามารถทำงานและทำกิจกรรมต่าง ๆ ขณะเดินทาง โดยไม่เป็นการเสียเวลาบนท้องถนน อีกทั้ง ยังสามารถเพิ่มคุณค่าให้กับเวลาอันมีค่าสำหรับทุกคนอีกด้วย
มากไปกว่านั้น ตามหัวเมืองใหญ่ต่าง ๆ จะเกิด Car-Sharing Economy หรือ Private Peer-to-peer Sharing มากขึ้น ด้วยรูปแบบแนวความคิดที่คนที่ต้องการเดินทางไปยังจุดหมายปลายทางที่ใกล้เคียงกันสามารถเดินทางไปด้วยกัน พร้อม ๆ กัน ๆ ได้ เพื่อเป็นการประหยัดพลังงานและลดค่าใช้จ่าย ซึ่งระบบเหล่านี้ จะดำเนินการอย่างอัตโนมัติ (Automatic) และระบบไร้เงินสด (Cashless) ผ่านทางระบบเทคโนโลยี Blockchain
การอยู่อาศัย การเดินทาง และการใช้ชีวิต ประกอบกันอยู่ใน “เมือง” ด้วยคอนเซ็ปท์ Smart Technology นั้น มีการพัฒนาไปอย่างก้าวกระโดด เริ่มจากสิ่งเล็กๆ ที่เรียกว่า Smart Device ถูกใช้งาน เชื่อมต่อ และส่งผ่านข้อมูลไปมาได้อย่างกว้างขวาง ผ่าน Smart Home, Smart Building และที่ใหญ่ที่สุดคือ City
ในบทความนี้เราขอยกอย่าง Woven City เมืองอัจฉริยะแห่งอนาคต ที่บริษัท Toyota Motor ได้สร้างเมืองแห่งอนาคตของตัวเองในประเทศญี่ปุ่น
Woven City ถือกำเนิดมาด้วยแนวคิด Kaisen ที่มีความหมายถึง การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง โดยมีมนุษย์เป็นศูนย์กลาง และห้องปฏิบัติการที่มีชีวิต “Living Laboratory” พร้อมรองรับการอยู่อาศัยของผู้คนแบบ full-time resident และผู้ทำการทดลองในสภาพแวดล้อมจริง
เพื่อเป็นฐานในการทดสอบเทคโนโลยีต่างๆ ตั้งแต่รถยนต์ไฟฟ้า รถยนต์ไร้คนขับ ไปจนถึงหุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์ต่างๆ
คอนเซ็ปท์ CASE (Connected, Autonomous, Shared mobility solutions and Electric) และการปลอดมลภาวะ (Emission-Free) จะเป็นการเปิดโลกสู่โอกาสใหม่ๆ ที่จะเกิดขึ้นกับการอยู่อาศัยในเมืองแบบสมัยใหม่ พลเมืองจะได้ใช้เทคโนโลยีล้ำสมัยที่มีการรับรองและสนับสนุนด้วยคนจริงๆ ดังเช่น หุ่นยนต์ภายในบ้าน (In-home Robotics) ที่ช่วยให้การใช้ชีวิตประจำวันของคุณสะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น จะมี sensor-based AI ภายในบ้าน เพื่อตรวจสอบสุขภาพของผู้อยู่อาศัย และดูแลความจำเป็นขั้นพื้นฐาน ที่มุ่งเน้นถึงความความปลอดภัย ความไว้ใจ
ประเภทที่ 1 คือใช้สำหรับการขับขี่แบบอัติโนมัติ ที่ทางโตโยต้าได้สร้าง E-Palettes รถไฟฟ้าพลังงานจากแบตเตอรี่ ขับขี่ได้อย่างอัตโนมัติ ที่เรียกว่า Autono-MaaS ด้วยการขับขี่ปลอดภัย และตรงเวลา
ประเภทที่ 2 คือ ถนนสำหรับคนเดินเท้า และหนึ่งในสามของพื้นที่จะถูกจัดเตรียมไว้สำหรับผู้ใช้อุปกรณ์เคลื่อนที่ส่วนบุคคล
ประเภทที่ 3 เป็นถนนใต้ดิน สำหรับรถส่งของอัตโนมัติ
มากไปกว่านั้นยังสามามรถใช้ Drone เพื่อการขนส่งทางอากาศอีกด้วย
สำหรับใครที่สนใจต้องการเรียนรู้ skills ในการปรับเปลี่ยนองค์กรเพื่อเตรียมรับมือกับเทรนด์โลกในทศวรรษใหม่นี้ ห้ามพลาด! โปรแกรม CXO - Chief Exponential Officer หลักสูตรเพื่อการ Transform ผู้นำและองค์กรให้อยู่รอดในยุค Continuous Disruption โดย คุณกระทิง พูนผล
#CXO #TheNextCXO #DisruptRules