Mynch Uranukul
Business Development & Education Manager
ความโหดร้ายของทศวรรษใหม่นี้ คือ การแข่งขันที่องค์กรต้องเผชิญหน้ากับอุปสรรคทั้ง 3 สิ่งที่กล่าวมาข้างต้น ไม่ว่าจะเป็นการแข่งขันเพื่อเอาชนะวิกฤตการณ์ disruption ที่เกิดขึ้นได้ตลอดเวลาแบบไม่ทันตั้งตัว การแข่งขันของตลาดคู่แข่งที่มาในทุกรูปแบบ แม้กระทั่งรูปแบบที่อาจไม่คาดฝันมาก่อน รวมถึงการแข่งขันเพื่อเสริมความแข็งแกร่งให้กับตัวองค์กรเอง โดยเฉพาะใน People Area ดังนั้นการสร้าง high performance organization และการรักษาคนเก่งเหล่านั้นไว้ภายในองค์กร จึงถือเป็น priority หลัก และเป็นโจทย์ใหญ่ท้าทายผู้นำและ HR ในองค์กรเป็นอย่างมาก การที่สร้างโอกาสใหม่ ๆ เพื่อพัฒนาทรัพยากรบุคคลให้เก่งและมี high-performance ได้นั้น อาจไม่มีค่าใดเลย หากเรายังมี talent leakage และไม่สามารถที่จะอุดรอยรั่วเพื่อ retain คนเหล่านั้นไว้ได้ในท่ามกลางยุคแห่ง Talent War ที่ดุเดือดในปัจจุบัน แล้วเราควรทำอย่างไรในสถานการณ์ดุดันเช่นนี้ จึงจะสามารถสร้าง high performance organization และ retain people ไว้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ร่วมหาคำตอบไปพร้อมกันในบทความนี้
จุดเริ่มต้นเพื่อเร่งสปีดองค์กรให้มีประสิทธิภาพเต็มสูบ ผู้นำและ HR ขององค์กร ต้อง ‘กล้า’ ออกจากกรอบเดิม และต้องพลิกโฉมภาพที่ใหญ่ที่สุดในองค์กรให้ได้ นั่นก็คือ ‘Culture’ ปัจจัยสำคัญที่หลายคนรู้แต่ไม่กล้าหือกับมัน หากพิจารณาจาก Research ของ Mckinsey & Company จะพบว่า องค์กรที่มี higher performing culture จะสามารถให้ผลลัพธ์ return สู่ shareholders ได้มากถึง 3 เท่าเลยทีเดียว ฟังดูแล้วน่าสนใจ แต่! ปัจจัยเหล่านั้นเริ่มต้นจาก การพลิกโฉม Culture ในองค์กร
ซึ่งการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในระดับ Culture ที่ดีนั้น มี 4 องค์ประกอบหลัก ดังนี้:
เริ่มต้นจากผู้นำองค์กร หรือ leadership team ที่มีส่วนสำคัญอย่างมากในการ drive culture โดยเฉพาะในช่วงเริ่มแรกของการเปลี่ยนแปลงไปสู่ high-performance organization เพราะ leadership team จะมีบทบาทสำคัญในการทำหน้าที่สื่อสารทุกอย่างออกไป ไม่ว่าจะเป็น Culture, Values, Behavior และการแสดงออกหรือทำให้เห็นเป็นตัวอย่าง (Role Modeling) แบบชัดเจนตั้งแต่เนิ่น ๆ เพื่อสร้าง focus ให้เกิดขึ้นกับพนักงาน ทำให้เห็น purpose และเป้าหมายภายในหมู่พนักงานได้อย่างชัดเจนและดียิ่งขึ้น
องค์กรจะต้องรู้ก่อนว่าอะไรคือ mindset ที่เป็น root cause ของ behavior ซึ่งเป็นอุปสรรคขวางกั้นการเป็น high-performance organization จากนั้นจึงกำหนดหรือระบุลักษณะ mindset/behavior ที่ต้องการเพื่อใช้ขับเคลื่อนองค์กร โดยพิจารณาจาก context ภายในองค์กรของตนเอง และ Communicate mindset/behavior เหล่านั้นออกไปให้ชัดเจน เพื่อ set ภาพความเข้าใจเดียวกันทั้งองค์กร
ไม่ว่าจะเป็นในเชิงของการเปลี่ยนแปลง process, system, initiatives ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ก็ควรจะต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับ culture มากขึ้นตามไปด้วย เพื่อที่จะ enable ให้พนักงานและองค์กรเข้าสู่การเป็น high-performance ได้ง่ายขึ้น โดยการ execute สิ่งเหล่านี้จะต้องมีความสอดคล้องกับ culture, behavior ที่ตั้งมา เพื่อเป็นการสร้าง ‘coherent employee experiences’ สร้าง message ที่สอดคล้องต้องกัน และป้องกันพนักงานเกิดความสับสน เช่น หากองค์กรเราจะเป็น high-performance organization ด้วยการพัฒนาพนักงานให้มี digital literacy แต่การที่พนักงานยังคงขาดแคลนเครื่องมือทางด้านเทคโนโลยีต่าง ๆ หรือ ยังมี process การทำงานที่ใช้เอกสารแบบ manual อยู่อย่างมากมาย ก็อาจจะป็นจุดที่ทำให้เกิดความสับสนในเชิงทิศทางองค์กรภายในหมู่พนักงานได้
การ drive เพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่ดี ควรคำนึงถึงตัวพนักงานในองค์กรเป็นสำคัญ และมี employee-centric ร่วมด้วย เช่น การพัฒนาพนักงานอย่างมีประสิทธิภาพ การพัฒนา skill ให้ตอบโจทย์เฉพาะเป็นรายบุคคล (individual development) หรือ การวางแนวทางอื่น ๆ เพื่อเอื้ออำนวยให้การเปลี่ยนแปลงของพนักงานเกิดได้ง่ายขึ้น
โจทย์ใหญ่ที่สำคัญอีกเรื่องของผู้นำองค์กรและ HR แห่งทศวรรษนี้ คือ ‘การ Retain พนักงาน’ ดังนั้นเพื่อให้ภาพชัดเจนมากยิ่งขึ้น เราจึงได้หยิบยกตัวอย่างในบางแง่มุม ที่ท่านสามารถเรียนรู้และนำไปประยุกต์ใช้ในองค์กรของท่านได้
research จาก Gallup 2017 ชี้ให้เห็นอย่างชัดเจนว่า พนักงาน 1 ใน 2 คน สามารถตอบ expectation ที่บริษัทคาดหวังจากตัวเขาเองได้ ทั้งที่จริง ๆ แล้ว การที่พนักงานได้รับรู้ expectation เข้าใจ role ของตนเองและเห็นความเชื่อมโยงกับภาพใหญ่จาก Purpose ของบริษัท จะทำให้มี drive และ motivation ในการทำงานกับบริษัทได้มากขึ้น
Honesty, Trust, Fairness ปัจจัยสำคัญอีกอย่าง ที่ทำให้พนักงานเลือกที่จะทำงานต่อไปในองค์กร ถึงแม้จะต้องอยู่ในสถานการณ์ที่ยากลำบาก หรือมี challenging ที่จะ deal กับพนักงานก็ตาม พนักงานก็สมควรได้รับความ transparent ความจริงใจมากที่สุด และรวมถึงการซัปพอร์ตให้กำลังใจอย่างเต็มที่
ต่อเนื่องจากข้อที่แล้ว นั่นคือ เรื่องของการมีพื้นที่ที่พนักงานสามารถ share ไอเดีย หรือ feedback ได้อย่างสบายใจ ไม่ต้องกังวลเรื่องของการถูกตำหนิ เพราะสิ่งเหล่านี้จะช่วยส่งเสริม continuos improvement ให้เกิดขึ้นภายในองค์กรได้ ทั้งยังก่อให้เกิดนวัตกรรมใหม่ ๆ กับองค์กรอยู่ตลอดเวลาอีกด้วย ‘ลด silo ลดกำแพงการทำงานระหว่างหน่วยงาน’
ในมุมของพนักงาน โดยเฉพาะ Gen Millennials ที่มักเปลี่ยนงานบ่อย การสร้าง development plan เพื่อให้พนักงานเห็นถือเป็นเรื่องที่สำคัญมาก เพราะนี่เป็นตัวชี้วัดสำคัญ ที่ทำให้พนักงานต้องการทำงานต่อไปในองค์กรของเรา เช่น การให้ mentorship และ outline ตัว career path ออกมาให้เห็น นอกจากนี้แล้ว ยังมีเรื่องของการให้ ownership เพื่อให้พวกเขาได้แสดงความสามารถของตัวเองออกมาอย่างเต็มที่ และมองเห็นสิ่งที่ตัวเองจะต้องพัฒนาต่อไป
การให้ recognition ไม่ได้จำกัดอยู่เพียงแค่การให้ใบประกาศนียบัตร การให้รางวัลบนเวที การกล่าวคำขอบคุณจากหัวหน้า หรือกระดาษโพสต์อิตที่มีข้อความให้กำลังใจแปะบนโต๊ะทำงาน สิ่งที่สำคัญคือ ‘ความจริงใจ’ ที่ส่งผ่านออกมาทางการทำ recognition ผสมผสานกับความคิดสร้างสรรค์ ความเป็นเอกลักษณ์ขององค์กร เหล่านี้จะเป็นจุดสำคัญของการให้ recognition ในองค์กรที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด
ทั้งหมดนี้เป็นเพียงตัวอย่างของการ Drive high-performance organization and retain people ซึ่งไม่ว่าองค์กรของคุณจะทำอะไร สิ่งที่ถือเป็น asset สำคัญอันดับต้น ๆ ก็คงหนีไม่พ้นเรื่องของ People ถ้าหากองค์กรของคุณสามารถบรรลุเรื่องนี้ได้ องค์กรก็จะก้าวไปได้ไกล และพร้อมที่จะรับทุกการเปลี่ยนแปลงในอนาคตที่เข้ามากระทบได้เสมอ
และสำหรับใครที่อยากเรียนรู้ skills ในการปรับเปลี่ยนตัวเองและองค์กร เพื่อเตรียมพร้อมรับมือกับโลกในทศวรรษใหม่ ห้ามพลาด! โปรแกรม CXO - Chief Exponential Officer หลักสูตรเพื่อการ Transform ผู้นำและองค์กรให้อยู่รอดในยุค Continuous Disruption โดย ‘คุณกระทิง พูนผล’ อ่านรายละเอียด คลิก https://www.disruptignite.com
#CXO #TheNextCXO