5 เทรนด์ของคนรุ่นใหม่ที่ธุรกิจอาหารต้องจับตามอง

November 6, 2018
Pat Thitipattakul

5 เทรนด์ของคนรุ่นใหม่ที่ธุรกิจอาหารต้องจับตามอง

ในยุค 4.0 เช่นนี้ เทคโนโลยีได้เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของเรามากขึ้น โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ที่เติบโตมากับการใช้ portable device ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น smartphone หรือ tablet ที่เรียกได้ว่ากลายเป็นส่วนสำคัญของชีวิตเราไปแล้ว

ในแง่ของธุรกิจร้านอาหาร แน่นอนว่าพฤติกรรมเหล่านี้ของคนรุ่นใหม่ (Millennials) ผนวกกับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีได้นำมาซึ่งความเปลี่ยนแปลงมากมาย ทำให้ธุรกิจจำเป็นจะต้องเข้าใจความต้องการของลูกค้าและปรับตัวตามให้เร็ว

และนี่คือ 5 เทรนด์ของคนรุ่นใหม่ที่ธุรกิจอาหารต้องจับตามอง

1.เทรนด์การเลือกร้านอาหาร คาเฟ่

เวลาจะเลือกร้านใดสักร้าน คนรุ่นใหม่มักจะหาข้อมูลต่างๆ ก่อนจากบน internet หรือว่าบางครั้งไม่ได้รู้จักร้านนั้น แต่เห็นเพื่อนแชร์มาใน social media จึงเกิดความสนใจที่จะไปลอง ถ้าเลือกได้

กระแสนี้เองทำให้เกิด foodie influencer เพจรีวิวอาหารมากมายในประเทศไทย ซึ่งทำ content ได้น่าสนใจ ดึงดูดกลุ่มเป้าหมาย รวมถึง platform ค้นหาร้านอาหารที่ได้รับความนิยมอย่าง wongnai ซึ่งสามารถดูข้อมูลต่างๆ ของร้านอาหารได้ เช่น ที่ตั้ง เวลาเปิดปิด อาหารแนะนำ รีวิว ราคา และอื่นๆ นอกจากนี้ยังสามารถกดแชร์ไปให้เพื่อนได้ด้วย นี่เป็นโอกาสทางธุรกิจของร้านอาหาร เพราะเป็นช่องทางการโปรโมทที่จะช่วยให้เข้าถึงลูกค้ากลุ่มใหม่ๆ ได้มากขึ้น

2.ประสบการณ์สั่งอาหารที่ร้านอาหารที่แปลกใหม่

ในต่างประเทศ มีการนำเทคโนโลยีมาใช้ในร้านอาหาร เพื่ออำนวยความสะดวก สร้างประสบการณ์ตื่นตาตื่นใจ และเป็น gimmick ดึงดูดลูกค้าโดยเฉพาะกลุ่มวัยรุ่นได้ดี เช่น หุ่นยนต์รับออเดอร์อาหาร และสามารถโต้ตอบ แนะนำรายการอาหารให้ลูกค้าได้ นอกจากนี้ยังมีบางร้านได้ทำเมนูอาหารแบบ Virtual Reality (VR) หรือ ทำภาพสามมิติลอยจากบนโต๊ะ โชว์ภาพอาหารต่างๆ ได้สมจริงน่ารับประทาน เชิญชวนให้ลูกค้าสั่ง

3.ไลฟ์สไตล์ที่เร่งรีบ ชอบความสะดวกรวดเร็ว

คนรุ่นใหม่ไม่ชอบรอนาน ไม่ชอบความไม่สะดวก ทำให้ปัจจุบันหลายๆ คนเลือกที่จะสั่งอาหารให้มาส่งที่บ้านหรือที่ทำงาน จะได้มีเวลาไปทำเรื่องอื่นๆ โดยไม่ต้องมารอคิวหรือเดินทางไปที่ร้าน ทำให้บริการ food delivery ในไทยเติบโตอย่างรวดเร็ว เช่น LINE MAN, Grab food, Foodpanda เพราะตอบโจทย์พฤติกรรมและอำนวยความสะดวกได้ดี หรือหากต้องการจะไปทานที่ร้าน ก็มีแอพที่ช่วยอำนวยความสะดวก เช่น จองโต๊ะล่วงหน้าผ่าน Eatigo หรือ จองคิวล่วงหน้าผ่าน QueQ ไม่ต้องไปต่อแถวหน้าร้าน

4.เขียนรีวิว ถ่ายรูปลง social media และแพลตฟอร์มต่างๆ

ความนิยมของ social media ได้ส่งผลให้คนรุ่นใหม่มีพฤติกรรมชอบแชร์เรื่องราวต่างๆ กันมากขึ้น เวลาไปรับประทานอาหาร หรือไปคาเฟ่สวยๆ ก็จะนิยมถ่ายรูปสวยๆ โพสต์ลง Instagram ทำให้ธุรกิจมากมายพยายามที่จะทำการตลาดโดยเชื่อมต่อกับลูกค้าผ่าน Instagram, Facebook page และ LINE โดยมีโปรโมชั่นส่วนลดให้เมื่อลูกค้า check-in

นอกจากการโพสต์ลง social media แล้ว คนยังนิยมเข้าไปรีวิวร้านต่างๆ ใน platform เช่น wongnai หรือหากมีประสบการณ์ที่ไม่ดี ก็จะไปร้องเรียน online เช่นกัน เช่น โพสต์ข้อความในเว็บไซต์ pantip ซึ่งธุรกิจสามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลรีวิวและข้อติชมของลูกค้าได้ มีเทคโนโลยีที่เข้ามาช่วยธุรกิจในการบริหารจัดการส่วนนี้ เช่น Zanroo Social Listening ช่วยเก็บ Big Data มาทำการวิเคราะห์ว่าแบรนด์เราถูกพูดถึงอย่างไรบ้างในโลกออนไลน์

5.ชอบความ personalization หรือสิ่งที่ตอบโจทย์ความต้องการเฉพาะตัว

การทำการตลาดแบบ mass ไม่ตอบโจทย์คนรุ่นใหม่ที่มีความต้องการหลากหลายอีกต่อไป คนรุ่นใหม่ต้องการข้อมูลที่ถูก personalized มาตามความสนใจ ไม่ต้องการข้อมูลที่มากเกินไปจนเกิด information overload

ในมุมมองของอาหารและเครื่องดื่มเองก็มีรายละเอียดยิบย่อยที่สามารถ personalize ให้แก่ลูกค้าแต่ละรายได้ ในสภาวะที่แข่งขันสูง ธุรกิจอาหารหันมาให้ความสำคัญกับการทำ loyalty program มากขึ้นเพื่อรักษาฐานลูกค้าไว้และเก็บข้อมูลพฤติกรรมของลูกค้า เช่น ข้อมูลอาหารที่ลูกค้าแพ้ เครื่องดื่มที่ลูกค้าชอบสั่งเป็นประจำ เพื่อนำข้อมูลเหล่านี้มาทำโปรโมชั่นการตลาดที่โดนใจลูกค้าคนรุ่นใหม่ เช่น ที่ประเทศจีน มีการใช้เทคโนโลยี Facial Recognition สแกนหน้าลูกค้าเพื่อสะสมแต้ม loyalty card และชำระเงิน ทันทีที่สแกนใบหน้า ตัว AI จะทำหน้าที่วิเคราะห์ข้อมูลสมาชิกและทำนายว่าลูกค้ารายนี้น่าจะสั่งอะไร โดยหน้าจอจะนำเสนอเมนูและโปรโมชั่นที่เกี่ยวกับสินค้านั้นเป็นหลัก

หากคุณเป็นคนที่มีไอเดียใหม่ๆ และเทคโนโลยีที่จะเปลี่ยนแปลงธุรกิจอาหารในไทยได้ ขอเชิญเข้าร่วมงาน Minor Tasting the Future Hackathon จัดโดย Minor Group และ Disrupt ในวันที่ 1-2 ธันวาคม 2561 นี้

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.disruptignite.com/tasting-the-future-hackathon

Update ความรู้จาก Disrupt ได้ที่ช่องทาง