Nae Nae Montawan
Business Development Associate
เมื่อเทคโนโลยีเข้ามาเป็นส่วนสำคัญของชีวิตประจำวัน และการเรียนรู้ของเด็กยุคใหม่ ทำให้ผู้ปกครองต้องรีบปรับตัว และปรับเปลี่ยนวิธีการเลี้ยงดูลูก ๆ เพื่อให้เหมาะสมกับบริบททางสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป เทคโนโลยี หากใช้ในทางที่ถูกต้อง และในระยะเวลาที่เหมาะสมกับวัย จะเป็นประโยชน์อย่างมากให้กับเด็กรุ่นใหม่ในสมัยนี้
บทความนี้จะนำเสนอ 4 เทรนด์การเลี้ยงลูกในศตวรรษที่ 21 ที่ คุณพ่อคุณแม่ทุกคนไม่ควรพลาด เพื่อส่งเสริมพัฒนาการของลูก ๆ
ศตวรรษที่ 21 เป็นช่วงเวลาที่เทคโนโลยีมีบทบาทมากขึ้นสำหรับการใช้ชีวิตครอบครัว ไม่ว่าจะเป็นเครื่องมือสื่อสาร หรือ entertainment ต่างๆ Family Online Safety Institute ได้มีการรายงานว่า 78% ของผู้ปกครองที่ survey นั้น เชื่อว่าเทคโนโลยีมีผลกระทบที่ดีต่ออนาคตของลูก และ 42% คิดว่าเทคโนโลยีมีผลดีและผลเสียพอ ๆ กันต่อการเจริญเติบโตของลูก
ในขณะเดียวกัน มีวิจัยและสถิติต่างๆ ที่มาสนับสนุนและต่อต้านการใช้เทคโนโลยีในการเลี้ยงลูก คำถามสำหรับผู้ปกครองหลาย ๆ ท่านตอนนี้คือ เราควรจะให้เวลาลูกใช้เทคโนโลยีมากหรือน้อยแค่ไหนในแต่ละวัน ที่จะทำให้เกิดผลดีต่อลูก ๆ ในระยะยาว เทคโนโลยีหากใช้ให้ถูกต้อง และพอเหมาะ จะมีประโยชน์อย่างมหาศาลต่อการเจริญเติบโตและการเรียนรู้ แต่หากใช้มากเกินไปอาจส่งผลกระทบต่อเด็กได้ ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่สมัยใหม่จึงต้องเรียนรู้เกี่ยวกับการใช้สื่อและเทคโนโลยีอยู่เสมอ และนำเทคโนโลยีมากเลี้ยงลูกอย่างเหมาะสม เช่น การใช้เป็นสื่อการเรียนรู้ภาษาที่ 3 หรือ การใช้ gamified learning เพื่อให้การเรียนรู้ของลูกมีความสนุกมากขึ้น
สถานการณ์ COVID-19 ทำให้ลูก ๆ หลาน ๆ ของหลายท่าน ต้องเริ่มเรียนรู้จากบ้านด้วยตนเอง การเรียนออนไลน์ได้กลายมาเป็น The New Normal ไม่ว่าจะเป็นโรงเรียนไทย อินเตอร์ หรือ มหาวิทยาลัยระดับโลก เช่น Harvard University, Stanford University, University of Pennsylvania ฯลฯ ก็ต่างต้องปรับมาเปลี่ยนการเรียนรู้เป็นรูปแบบ virtual classroom ทำให้ผู้ปกครองอาจเกิดความกังวลว่าควรจะทำอย่างไรให้ลูกสามารถเรียนรู้ได้อย่ามีประสิทธิภาพเมื่อไม่ได้เข้าไปอยู่ในห้องเรียนอย่างเคย ปัญหาต่าง ๆ อาจเกิดขึ้นมากมาย เช่น เด็กอาจมีสมาธิน้อยลงเมื่อเรียนจากบ้าน หรือ การเรียนรู้อาจช้าลงเมื่อไม่ได้พูดคุยกับครูอย่างเช่นเคย
ทั้งนี้ผู้ปกครองจึงต้องปรับเปลี่ยนทัศนคติในการเรียนรู้ของลูกใหม่ ส่งเสริมการเรียนรู้จากบ้านในโลกออนไลน์ให้กับลูก ๆ ต้องปรับตัวทำความเข้าใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีใหม่ ๆ เช่น การใช้ application ต่าง ๆ เช่น Google Classroom, Google Meet, Zoom ฯลฯ หากสามารถเข้าใจและปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมใหม่ได้ ลูกของคุณก็จะสามารถเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
โลกของศตวรรษที่ 21 นั้น โลกต้องการมากกว่าการเรียนวิชาหลัก เช่น วิทยาศาสตร์ หรือ คณิตศาสตร์ ที่อยู่ในในห้องเรียน ทักษะของศตวรรษที่ 21 นั้นจำเป็นที่จะต้องให้เด็กได้เรียนรู้จากกิจกรรมนอกห้องเรียนเพื่อเสริมสร้างทักษะในด้านอื่น เช่น การทำกิจกรรมจิตอาสา การเล่นดนตรี และ การเล่นกีฬา เนื่องจากกิจกรรมเหล่านี้ส่งเสริมให้เด็กมีความเข้าใจเกี่ยวกับโลกที่ตนเองกำลังอาศัยอยู่มากขึ้น เด็กจะประสบความสำเร็จได้ในศตวรรษที่ 21 หากคนสนับสนุนให้เขาได้รับการเรียนรู้ที่นอกเหนือจากสิ่งที่มีอยู่ในห้องเรียน
การส่งเสริมการเรียนรู้แบบรอบด้านจะช่วยเพิ่มทักษะ soft skills เช่น การสื่อสาร การทำงานเป็นทีม การบริหารเวลา การปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม การแก้ปัญหา ซึ่งเป็นทักษะที่สำคัญมากในศตวรรษที่ 21 ทักษะเหล่านี้ถือเป็นทักษะที่สำคัญมากเทียบเท่า หรือ อาจมากกว่า ทักษะ Hard Skills อีกเสียด้วยซ้ำ
โดย Research จาก University of Ontario ได้มีการรายงานว่า มากกว่า 70% ของเด็กที่มีการฝึก soft skills ตอนยังเรียนอยู่ชั้นประถมและมัธยม จะช่วยส่งเสริมให้ประสบความสำเร็จตอนเรียนมหาวิทยาลัยมากขึ้น
อีกทั้งการสมัครเข้าเรียนมหาวิทยาลัยระดับโลก หรือ การสมัครงานในอนาคตของลูกของคุณ ก็จะไม่ได้ดูแค่เพียงคะแนนสอบอีกต่อไป ตอนนี้ทุก ๆ คนหันมาสนใจทักษะ ลักษณะนิสัย การทำงานร่วมกับผู้อื่น Project ที่ทำ รวมไปถึงบุคลิกภาพ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ soft skills สิ่งเหล่านี้ จึงถือเป็น essential skills ของเด็กในศตวรรษที่ 21 เลยทีเดียว
การส่งเสริมการเรียนรู้แบบรอบด้านให้ลูกได้ฝึกทักษะเหล่านี้จึงถือเป็นสิ่งที่สำคัญมากสำหรับคุณพ่อคุณแม่สมัยใหม่
วิธีการเลี้ยงลูกแบบ positive parenting เป็นการนำจิตวิทยาเชิงบวกมาใช้ในการพูดคุยและสื่อสารกับลูก แทนที่จะใช้การดุ ด่า หรือว่า ปรับเปลี่ยนมาใช้การพูดในแนวที่ส่งเสริมความมั่นใจให้กับลูก หรือตักเตือนด้วยเหตุและผล และไม่ทำให้ลูกกลัวคุณ ตัวอย่างเช่น ปรับเปลี่ยนการมองลูกว่าซน เป็นการมองว่าลูกเป็นเด็กที่มีพลังงานสูง หรือ การใช้เหตุผลพูดคุยมากกว่าการใช้อารมณ์
การเลี้ยงลูกแบบนี้ได้ถูกวิจัยมาแล้วว่า มีผลดีต่อเด็กในหลากหลายด้านดังนี้
การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โดยการใช้ Positive Parenting นั้นจึงเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างมากสำหรับคุณพ่อคุณแม่สมัยใหม่ที่อยากส่งเสริมพัฒนาการของลูก และพัฒนาความสัมพันธ์ของคนในครอบครัวให้ดียิ่งขึ้น
ปีนี้ในงาน Education Disruption Conference 2 เราได้รับเกียรติจาก รศ.นพ.วีระศักดิ์ ชลไชยะ อาจารย์ประจำคณะแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้เชี่ยวชาญทางด้านพัฒนาการเด็ก มาให้ความรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงลูกในศตวรรษที่ 21 การเลี้ยงลูกแบบ positive parenting ที่จะเน้นด้านการส่งเสริมพัฒนาการเด็กโดยใช้จิตวิทยาทางบวกในการเลี้ยงดู นอกจากนี้ รศ.นพ.วีระศักดิ์ ชลไชยะ จะมาให้ความรู้เรื่องวิธีการเลี้ยงลูกในโลกดิจิตอล และตอบคำถามคาใจเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีในการเลี้ยงลูกสมัยใหม่
1. คุณเมษ์ ศรีพัฒนาสกุล, Founder - Lukkid, Asia 21 Leader (2019) ผู้เชี่ยวชาญด้าน Design Thinking เรียนจบ MBA จาก Stanford Graduate School of Business
2. ดร. เกตุ พิชญ์วดี ผู้ก่อตั้ง Arkki Thailand โรงเรียนหลักสูตรการศึกษาเชิงสร้างสรรค์ชั้นนำระดับโลกจากกระทรวงศึกษาของประเทศฟินแลนด์
3. รศ.ดร จตุรภัทร วาฤทธิ์ (พ่อต๋อง) คุณพ่อของ น้องฮับ น้องที่เป็น 1 ใน 20 คน ที่ผ่านเข้ารอบงาน Google Science Fair เป็นเด็กไทยที่อายุน้อยที่สุดจากทั่วโลก ที่ได้ไปนำเสนอโปรเจ็กซ์ ประดิษฐ์ครื่องช่วยพูดและฟังสำหรับผู้พิการทางหู ตอนอายุเพียง 13 ปี
4. คุณมิรา เวฬุภาค CEO & Founder, Flock Learning องค์กรธุรกิจที่เกิดจากการรวมตัวของพ่อแม่และนักสร้างการเรียนรู้ที่ชวนพ่อแม่มาสร้างการเรียนรู้ให้กับตัวเองและเด็ก ๆ ในโลกแห่งการเปลี่ยนแปลง
5 คุณภารดี โฆษะวิสุทธิ์ (แม่ติ๊ด) เจ้าของเพจ เลี้ยงลูกให้ยอดเยี่ยม
ใน panel นี้ ผู้ปกครองมากประสบการณ์ จะมาตอบคำถาม แชร์มุมมองให้กับผู้ปกครองสมัยใหม่ ว่าเลี้ยงลูกอย่างไรให้มีความสุขและประสบความสำเร็จได้ในศตวรรษที่ 21
พบกันที่งาน Education Disruption Conference 2 Virtual Conference ที่จะพาทุกคนเตรียมตัวให้พร้อมสำหรับการเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ของการเรียนรู้ของคนไทยที่กำลังจะเกิดขึ้น ผ่าน Content สุด exclusive จากผู้เชี่ยวชาญระดับโลกและในไทยมากมาย เรียนรู้การสร้าง Edtech unicorn ที่สามารถขยายไปต่างประเทศ จากกูรูระดับโลก ทั้ง Khan Academy/Edmodo, นักลงทุน VC ที่ลงทุนใน Edtech Unicorn อย่าง VIPKid, Coursera, General Assembly และ Expert ด้าน Edtech Ecosystem ระดับโลก