4 ช่องทางการระดมทุนสตาร์ทอัป

January 9, 2021
Neuy Priyaluk

คำถามที่มักเกิดขึ้นในใจอยู่เสมอ โดยเฉพาะนักธุรกิจและผู้ประกอบการสตาร์ทอัพหน้าใหม่ นั่นก็คือ เราจะใช้วิธีการและช่องทางใดในการหาแหล่งเงินทุนให้กับสตาร์ทอัพของเรา ซึ่งทีมดิสรัปท์ได้เคยเขียนเกี่ยวกับ เคล็ดลับการระดมทุน ไว้ให้อ่านกันแล้ว

ในบทความนี้ จึงอยากมาอธิบายเพิ่มเติมเริ่มต้นจากการทำความเข้าใจถึงชนิดของการระดมทุน หรือ Fundraising กันก่อน

การระดมทุน (Fundraising) มีทั้งหมด 3 ชนิดหลัก ดังนี้:

  1. การลงทุนในตราสารทุน หรือ การลงทุนในหุ้นทุน (Equity Investments) - นักลงทุนจะได้หุ้นของบริษัทเป็นค่าตอบแทนจากเม็ดเงินที่ลงทุนไป
  2. การลงทุนในตราสารหนี้ (Debt Investments) - นักลงทุนจะได้รับดอกเบี้ยเป็นค่าตอบแทนจากการลงทุน โดยจะมีการกำหนดอายุเวลาและอัตราดอกเบี้ยผลประโยชน์ที่แน่นอน
  3. เงินช่วยเหลือสนับสนุน และอื่นๆ (Grants / Incubator or Accelerator Programs etc.)

ซึ่งจากการระดมทุนทั้ง 3 ชนิดนี้ สามารถแตกออกมาเป็น 4 แหล่งเงินทุน มีอะไรบ้าง ไปดูกันเลย..

เรามาเริ่มต้นด้วย

1. นักลงทุนบุคคล นักลงทุนรายย่อย (Individual/ Retail Investors)

นักธุรกิจที่เพิ่งเริ่มต้นส่วนใหญ่มักจะเริ่มต้นจาก เพื่อนและครอบครัว ที่จะมาช่วยลงทุนให้กับสตาร์ทอัพในระยะเริ่มแรก โดยอาจจะมีการทำสัญญา การได้เป็นเจ้าของในธุรกิจ หรือ การชำระคืนเงินกู้หรือไม่ก็ได้ นักลงทุนบุคคลกลุ่มนี้ ยังรวมไปถึง ผู้มีความมั่งคั่งพิเศษ (High Net Worth Investors) บุคคลธรรมดาที่มีสินทรัพย์สุทธิตั้งแต่ 50 ล้านบาทขึ้นไป หรือที่เราเรียกกันว่า Angel Investors อีกด้วย ซึ่งนักลงทุน Angel Investor นี้มักเป็นผู้นำในด้านที่ตนเองเชี่ยวชาญ และจะช่วยลงทุนแบบเน้นคุณค่าให้กับธุรกิจในระยะเริ่มต้น ช่วยโอบอุ้มธุรกิจให้อยู่รอดและพัฒนาได้ด้วยตนเอง

Angel investors มักจะไม่ได้หวังแค่เม็ดเงินเป็นค่าผลตอบแทนเพียงอย่างเดียว แต่จะช่วยเหลือและสนับสนุนให้สตาร์ทอัพสามารถประสบความสำเร็จจนเข้าสู่ตลาดหุ้นได้ สำหรับ Angels ที่ดีโดยทั่วไปนั้น มักเข้ามาให้ความช่วยเหลือสตาร์ทอัปได้อย่างตรงจุด ถูกที่ ถูกเวลา และยังช่วยสร้างภาพลักษณ์ให้ธุรกิจเป็นที่รู้จักในวงกว้างมากขึ้นอีกด้วย ดังนั้น Angle เหล่านี้จึงมักจะได้ที่นั่งในการเป็นผู้บริหารขององค์กรหรือบริษัทสตาร์ทอัปนั้น ๆ ควบคู่ไปด้วย

(ขอบคุณข้อมูลเพิ่มเติมจาก sanook.com, readthecloud.co)

2. นักลงทุนสถาบัน (Institutional Investors)

เมื่อกล่าวถึงนักลงทุนสถาบัน เรามักหมายถึงบริษัท หรือ องค์กรต่าง ๆ ที่มีเงินลงทุนขนาดใหญ่ มีความสามารถในการกระจายเงินลงทุนได้อย่างกว้างขวาง อีกทั้งยังมีกระบวนการจัดการลงทุนที่เป็นระบบ ตัวอย่างเช่น ธนาคารพาณิชย์ บริษัทหลักทรัพย์ และบริษัทเงินทุนต่าง ๆ ที่ซื้อหน่วยลงทุนเพื่อเป็นทรัพย์สินของตนเอง หรือเพื่อบริหารกองทุนส่วนบุคคล

นักลงทุนสถาบัน จะให้บริการด้านการลงทุนที่สามารถแบ่งออกเป็น 4 แบบหลัก แต่ในที่นี้จะขอเล่าการลงทุนแบบที่นิยมมากที่สุดให้ฟังก่อน นั่นก็คือ

ธุรกิจเงินร่วมลงทุน (Venture Capital Firms)

โดยจะเริ่มลงทุนตั้งแต่ระยะแรกกับบริษัทที่มองเห็นว่ามีศักยภาพและโอกาสในการเติบโต (High Growth) ระยะยาวต่อไปได้ ซึ่งการลงทุนมักจะอยู่ภายใต้คอนเซ็ปต์ High Risk, High Return กล่าวคือ 'เสี่ยงมาก-ผลตอบแทนมาก' โดยเฉพาะในกลุ่ม Emerging Technology (เทคโนโลยีอุบัติใหม่) ของบริษัท Tech Startup ต่าง ๆ ซึ่งผู้ลงทุนในกลุ่มนี้ มักจะได้ Ownership ในหุ้นของบริษัท และได้ที่นั่งในบอร์ดบริหารด้วย

Venture Capital มักจะทำงานร่วมกันเป็นทีม ซึ่งประกอบไปด้วย หุ้นส่วน (Partners), นักค้นคว้าและวิจัยข้อมูล (Researchers), และ นักวิเคราะห์ (Analyst) เพื่อคัดเลือกบริษัทสตาร์ทอัพที่เหมาะสมที่สุดในการลงทุน ยกตัวอย่าง Venture Capital ในไทย เช่น 500TukTuks ที่ลงทุนตั้งแต่ Seed Stage จนถึง SeriesA

นอกจากการลงทุนแบบ ธุรกิจเงินร่วมลงทุน (Venture Capital Firms) แล้ว ยังมีการลงทุนอีก 3 แบบ นั่นก็คือ กองทุนรวม (Mutual Funds), หุ้นนอกตลาด (Private Equity Funds), และ กองทุนที่มีการป้องกันความเสี่ยง (Hedge Funds)

(ขอบคุณข้อมูลเพิ่มเติมจาก positioningmag.com, fpo.go.th, fundmanagertalk.com, medium.com, set.or.th)

3. นักลงทุนบริษัท (Corporate Investors)

ความหมายของ นักลงทุนบริษัท (Corporate Investors) ก็คือ บริษัทต่าง ๆ ที่นำการลงทุน สินทรัพย์ สัญญา ความรู้ และประโยชน์ต่าง ๆ มามอบให้กับสตาร์ทอัพที่มี Synergy โดยมีวัตถุประสงค์ในเชิงกลยุทธ์ (Strategic Purpose) 

มากไปกว่านั้น นักลงทุนบริษัท อาจจะมาในรูปแบบของการลงทุนผ่านโปรแกรมโครงการบ่มเพาะสตาร์ทอัพ (Incubator หรือ Accelerator) เช่น AIS The Startup, StormBreaker Venture ที่ให้การสนับสนุนตั้งแต่การเปลี่ยนไอเดียเป็นผลิตภัณฑ์ ไปจนถึงระยะการนำสินค้าและบริการออกสู่ตลาด นอกจากนี้ยังช่วยให้คำปรึกษาและแก้ไขปัญหาต่าง ๆ อีกด้วย

โดยในบทความนี้ขอยกตัวอย่าง 2 ธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทย ได้แก่

ธนาคารกสิกรไทย (KBank)

ได้มีการเปิดบริษัทเพื่อแยกตัวออกมาใหม่ในนามของ Beacon Venture Capital ซึ่งเป็นหน่วยลงทุนในสตาร์ทอัพระดับซีรีส์ A ขึ้นไป

อีกทั้งยังมี Kasikorn Vision Company (KVision) เป็น Investment Holding Company ที่มีหน้าที่เข้าไปค้นหาพันธมิตรและดีลที่น่าสนใจจากต่างประเทศที่มีความโดดเด่นด้านเทคโนโลยีพัฒนาเพื่อผู้บริโภคเข้ามาอีกด้วย

ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB)

ขณะเดียวกันทางด้านธนาคารไทยพาณิชย์ ก็ได้มีการแยกตัวบริษัทออกมาใหม่ในนามของ SCB 10X ที่เป็น Corporate Venture Capital (CVC) และยังมีโครงการ U.REKA เเละ SCB Abacus เป็นต้น

4. แหล่งเงินทุนดั้งเดิม (Traditional Sources)

แหล่งเงินทุนดั้งเดิมมี 2 แบบหลัก ๆ คือ การลงทุนผ่านธนาคารและรัฐบาลท้องถิ่น

ธนาคาร (Banks)

ผ่านระบบการระดมทุนในแบบที่ 2 ที่กล่าวไว้ข้างต้น คือ การลงทุนในตราสารหนี้ (Debt Investments)

โดยธนาคารจะให้เงินทุนในรูปแบบของ เงินกู้ธนาคาร (Bank loan) หรือ สินเชื่อส่วนบุคคล คือ การที่ธนาคารให้ลูกค้ากู้ยืมเงินโดยมีกำหนดเวลาชำระหนี้ หลักทรัพย์ ค้ำประกันต่าง ๆ ซึ่งกรณีนี้ธนาคารจะคิดดอกเบี้ยระหว่างที่ลูกค้าผ่อนคืน การระดมทุนในแบบเงินกู้ธนาคารนี้ แต่ปัญหาคือ สตาร์ทอัพมักไม่ค่อยมี Asset ในการไปข้อกู้ยืมเนื่องจากสินทรัพย์ของบริษัทมักจะอยู่ในรูปแบบของผลิตภัณฑ์อย่าง website, application หรือ User

รัฐบาลท้องถิ่น (Local Governments)

การลงทุนในรูปแบบนี้ มักจะใช้การระดมทุนในแบบที่ 3 คือ เงินช่วยเหลือสนับสนุนและอื่นๆ (Grants / incubator or accelerator programs etc.) ผ่าน 2 ช่องทางดังนี้:

  1. โครงการที่นำโดยรัฐบาล (Government-led programs) มักจะได้การสนับสนุนเป็นเงินสนับสนุนและนำไปสู่การเติบโตอย่างรวดเร็วของธุรกิจ เช่นหน่วยงานรัฐบาลในไทยอย่าง Depa และ NIA เป็นต้น
  2. สตาร์ทอัพจากต่างประเทศ (Foreign startup) ที่มักจะได้เงินสนับสนุนในระบบเศรษฐกิจของตลาดเกิดใหม่ (Emerging Markets) และมักมองหา Local Partner ทั้งนี้เป็นการทำเพื่อให้เกิดความสัมพันธ์ที่ไดัประโยชน์กันทุกฝ่าย อีกทั้งยังทำให้เศรษฐกิจแข็งแรงยิ่งขึ้นอีกด้วย

หลังจากเราได้เรียนรู้ชนิดและแหล่งการเงินทุนแล้ว คำถามต่อไปที่ทุกคนอยากรู้นั่นก็คือ 'การระดมทุนแบบใด ด้วยวิธีไหน ที่เหมาะกับธุรกิจสตาร์ทอัพของเรามากที่สุด'

คำตอบนั้น สามารถดูได้จาก ขนาดของธุรกิจ และขั้นของธุรกิจว่าเติบโตไปมากน้อยเพียงใดแล้ว หรือที่เราเรียกกันว่า Business Stage of Growth

สตาร์ทอัประยะเริ่มต้น (Early Stage Startup) กับการลงทุนในระดับ Seed Funding

ในขั้นนี้ การลงทุนจะมีความเสี่ยงสูงมาก เนื่องจากต้องเริ่มตั้งแต่การพัฒนาตัวสินค้าและบริการ แล้วยังต้องมีการปรับให้ตรงกับความต้องการของกลุ่มลูกค้าอีกด้วย ดั้งนั้นสตาร์ทอัปที่อยู่ในขั้นนี้ จะต้องการเงินทุน คำชี้แนะ และการแนะนำต่าง ๆ อีกมาก เพื่อที่จะอยู่รอดและเติบโตต่อไปให้ได้

โดยผู้ลงทุนในกลุ่มนี้ ได้แก่ Accelerator/Incubator และ Venture Capital

สตาร์ทอัปและการลงทุนในระดับ Series A (Series A Stage Startup)

สตาร์ทอัปที่อยู่ในขั้นนี้จะมี Business Model ที่ชัดเจนมาก ๆ แล้ว อีกทั้งสินค้าและบริการก็ผ่านการพัฒนาในเรื่องของกลุ่มเป้าหมายมาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และพร้อมที่จะทำการรุกตลาด หรือที่มักเราจะได้ยินคำว่า Business Market Fit 

โดยผู้ลงทุนในกลุ่มนี้ ได้แก่ Venture Capital และ Corporate Venture Capital ที่มีมูลค่าการลงทุนอยู่ระหว่าง 30-500 ล้านบาท ซึ่งผู้ลงทุนกลุ่มนี้ ก็มักจะได้ตำแหน่งในบอร์ดบริหารอีกด้วย

เมื่อเรามีความเข้าใจเบื้องต้นแล้ว อย่าลืมหาข้อมูลเพิ่มเติมจาก Website ของนักลงทุนที่เราสนใจเพราะมักจะมี Portfolio การลงทุนให้เราได้เข้าไปศึกษา

และสำหรับใครที่อยากเรียนรู้ skills ในการปรับเปลี่ยนองค์กรเพื่อเตรียมรับมือกับโลกในทศวรรษใหม่นี้ ห้ามพลาด! โปรแกรม CXO - Chief Exponential Officer หลักสูตรเพื่อการ Transform ผู้นำและองค์กรให้อยู่รอดในยุค Continuous Disruption โดยคุณกระทิง และ Disrupt


#CXO #TheNextCXO

ขอบคุณข้อมูลจาก https://www.techinasia.com/video/tech-asia-explains-sources-startup-funding
Update ความรู้จาก Disrupt ได้ที่ช่องทาง