Krating Poonpol
Founder of Disrupt Technology Venture, Founding Partner, 500 TukTuks
1. คอนเซ็ปของ 10xCEO นั้นมาจากการศึกษา Startups เป็น 1,000 บริษัท ทั้งที่ประสบความสำเร็จอย่างมาก และที่ล้มเหลวด้วยสาเหตุต่าง ๆ และค้นพบว่ามีเพียง 4% ของ Startups ทั้งหมดที่ได้รับเงินลงทุนจาก VC สามารถสร้างผลตอบแทนจากการลงทุนได้เกิน 10 เท่าขึ้นไป
2. ข้อแตกต่างหลักของ Startups 4% นั้นคือ ความสามารถของตัว CEO เอง ซึ่งมีผลต่อ performance ของ Startups นั้นๆ กว่า 90% เลยครับ
3. CEO ของ Startups เหล่านั้นมีคุณสมบัติร่วมกันบางอย่างคือ มีการพัฒนาการและการเติบโตทางความสามารถ "ทัน" หรือ "นำหน้า" การเติบโตทางธุรกิจของ Startup ของเขา และมี "skill sets" ที่ match กับแต่ละ stage ของ Startups ของเขาครับ
คือเริ่มจากไม่มีอะไรเลย โดยใน stage นี้ CEO คือ Chief Everything Officer ต้องลงมือทำทุกอย่างด้วยตัวเองและ skill set ที่สำคัญคือ product development คือ CEO ต้องเก่งเรื่อง product ซึ่งใน stage นี้หลายๆ คนที่เคยทำงานบริษัทใหญ่ๆ มีลูกน้อง/มีระบบ จะ struggling พอสมควร เพราะต้อง set up เองลงมือทำเองทุกอย่าง และต้องพัฒนา product ก่อนเงินหมด
อย่างแย่ที่สุดต้องถึงจุด product-market fit หรือจุดที่ product ตอบโจทย์ลูกค้าและมีความแตกต่างจากคู่แข่งอย่างมาก ดังนั้นเลยมีลักษณะของ fire-fighting กับ sense of urgency อย่างมาก นอกจากนี้แล้ว Startup ของเขาต้องมี profit assumption และ business model ที่ดูเป็นไปได้ด้วยครับ จะเห็นว่า stage แรกนั้นยากมากๆและ startup จำนวนมากก็ล้มตาย ใน stage แรกนี้หรือมี product ที่ยังไม่ถึง product-market fit ดีพอที่จะแข่งขันในตลาดได้ครับ
ซึ่ง CEO ต้องออกแบบกระบวนการ ( Process architect) โดยมี 2 กระบวนการที่ CEO ต้องออกแบบให้มีประสิทธิภาพที่สุดและเร็วที่สุดคือ Customer Success Engine กับ Sales Success Engine และอีกทักษะที่ CEO ต้องมีเพิ่มคือ การเป็น "Coach" และ "Selector of Player" คือความสามารถในการดึงดูดและ "เลือก"พนักงานระดับ top หรือ talents ให้มาร่วมทีม รวมถึง CEO สามารถ lead และ coach พนักงานที่เป็น talents เหล่านั้นได้ เพราะใน stage นี้ CEO ไม่สามารถลงมือทำเองได้ทุกอย่าง ไม่งั้นจะกลายเป็น "คอขวด" ซะเอง โดย stage นี้ startups ต้องสามารถหา business model ที่ยั่งยืนได้แล้ว stage ถัดไปจึงจะเริ่ม "scale" อย่างรวดเร็วได้ครับ
โดย stage นี้จะมีพนักงานจำนวนมากขึ้นมากๆ และ "culture" นั้นจะมีความสำคัญอย่างมาก เพราะ culture จะเป็นตัวกำหนด behavior ของพนักงานและเป็นตัวกำหนด performance ของแต่ละทีมย่อย โดยที่ CEO ไม่จำเป็นต้องลงไป micro-manage ในทุกๆ อย่าง ซึ่งเป็นไปไม่ได้ นอกจากนี้นั้นใน stage นี้จะเริ่มมีคู่แข่งเข้ามามากมาย ดังนั้น CEO ต้องสามารถวางยุทธศาสตร์การแข่งขันและต้องมี Unfair Advantage ที่ทำให้สามารถชนะการแข่งขันได้ นอกจากนี้ CEO ยังต้องพัฒนาตัวเองจากการเป็นแค่ "Coach" และ "Selector of Player" ให้กลายมาเป็น "Selector of Coach" และ " Head Coach" และ Quarterback ได้ด้วยครับ
ของ Startups ที่ถ้ารอดมาได้ก็ถือว่าเก่งมากๆๆๆ เลยครับ ตัว CEO ของ Startup นั้นต้องพัฒนาตัวเองมาเป็น Chief Visionary Officer คือคนที่มีวิสัยทัศน์มองเห็นพัฒนาการของอุตสาหกรรมและสามารถมองเห็น "what's next" และ วางยุทธศาสตร์องค์กรให้ขับเคลื่อนไปตามนั้นได้ และมีการสร้างนวัตกรรมอย่างต่อเนื่องครับ
8. ความท้าทายอย่างมากของ Startup CEO คือการเติบโตแบบก้าวกระโดด และพัฒนาทักษะเหล่านี้ ในช่วงเวลาแค่ไม่กี่ปี บาง Startups เติบโตจาก stage 1 ถึง 4 ในเวลาไม่ถึง 5 ปี แล้วคุณจะเห็นว่า CEO แทบจะต้อง "re-invent" ตัวเองแล้วเก่งขึ้น จนแทบจะเป็นคนละคนทุกปี ถ้าเปรียบเทียบก็คงเหมือน จาก โกคู ใน ดรากอนบอลต้องเติบโตจาก ตอนเด็กๆ อ่อนๆ ขึ้นมาเก่งระดับ super saiyan แล้ว มาเป็น super saiyan 2, 3 และ 4 ในเวลาแค่ไม่กี่ปี สมกับฉายา "10x CEO" ครับ